ความแตกต่างระหว่าง
"ข้อเข่าเสื่อม" และ "โรคเก๊าท์"

สาเหตุ
ข้อเข่าเสื่อม: กระดูกอ่อนผิวข้อสึกหรอจากการใช้งานนาน ๆ หรืออายุที่มากขึ้น
โรคเก๊าท์: ระดับกรดยูริกในเลือดสูง ตกตะกอนเป็นผลึกสะสมในข้อ
ตำแหน่งที่ปวด
ข้อเข่าเสื่อม: ปวดบ่อยที่ ข้อเข่า (หรือข้อสะโพก, หลัง)
โรคเก๊าท์: ปวดมักเริ่มที่ โคนหัวแม่เท้า (แล้วอาจลามไปข้ออื่น)
ลักษณะอาการ
ข้อเข่าเสื่อม: ปวดตื้อ ๆ ล้า ๆ ขยับมากปวดมาก ยืน เดินนานยิ่งปวด
โรคเก๊าท์: ปวด บวม แดง ร้อน อย่างเฉียบพลัน อักเสบมาก
การเกิดอาการ
ข้อเข่าเสื่อม: ค่อย ๆ เป็นทีละน้อย ช้า ๆ เรื้อรัง
โรคเก๊าท์: อาการปวดรุนแรงเร็ว ภายใน 24 ชั่วโมง
ช่วงเวลาปวด
ข้อเข่าเสื่อม: ปวดมากเวลาขยับ นั่งพักดีขึ้นบ้าง
โรคเก๊าท์: ปวดตอนกลางคืน หรือหลังทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง
การรักษาเบื้องต้น
ข้อเข่าเสื่อม: บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อ พักข้อ ฉีดสารหล่อลื่น PRP NRI
โรคเก๊าท์: ลดกรดยูริกในเลือด ใช้ยากลุ่มลดอักเสบ หลีกเลี่ยงอาหารพิวรีนสูง
กลุ่มเสี่ยง
ข้อเข่าเสื่อม: ผู้สูงวัย น้ำหนักเกิน คนใช้ข้อเข่าหนัก ๆ
โรคเก๊าท์: ผู้ชายวัยกลางคน คนทานเนื้อแดง-เบียร์เยอะ, มีพันธุกรรม